[1] รู้จัก TrialBike


(เครดิตคุณ Art_Project)
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกันก่อนเลย...บางคนอาจจะสงสัย....เอ๊ะจักรยานอะไร  Trialbikes, Biketrial, Bikestrial,จักรยานกระโดด, จักรยานไต่หิน, จักรยานผาดโผน,....มันเอาไว้ทำอะไร แล้วเล่นยังไง ทุกคำถามมีคำตอบครับ...


ชมคลิประดับเทพก่อน...Danny MacAskill...ชมเสร็จซี้ดซ้าดๆน้ำลายไหลแน่!

นี่ละ Trialbike 
อยากเล่นแล้วชิมิ? เดี๋ยวอย่าเพิ่ง...


ขอเรียกน้ำลายอีกหน่อย... 




จัดหนักให้ชมกันเต็มตาไปเลย ...








อยากชมมากกว่านี้...เชิญที่ YouTube ครับ!!


ต้องขอออกตัวก่อนว่า ผมเองไม่ใช่โปรที่เล่นเก่งกาจ องอาจ สามารถอะไร
แต่อยากให้เพื่อนๆได้รู้จัก Trial bikes ให้มากขึ้นครับกว่านี้ครับ อยากให้เพื่อนๆสนใจแล้วมาเล่นกันเยอะๆ คงสนุกดี.....



[2] ความเป็นมาของ TrialBike

กีฬาชนิดนี้กำเนิดขึ้นโดย คุณ Ot Pi Isern ที่พัฒนามาจาการขับขี่โมโตครอส ชนิด ไทร์อัล ในประเทศเสปน 
เนื่องจากคุณพ่อของเขา คือคุณ Peter Pi  ที่เป็นแชมป์โลกในการขี่จักรยานยนต์ผาดโผน Trial
จึงให้ลูกชายคือคุณ Ot pi ฝึกจากการขี่จักรยานเพื่อพัฒนาสู่การขี่มอเตอร์ไซค์ เพื่อเรียนรู้เทคนิคพื้นฐาน
การกระโดดขึ้น ลง การทรงตัว การใช้เบรก บนอุปสรรค์ต่างๆ
การขี่แบบ Trial ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และแพร่หลายในกลุ่มเพื่อนฝูงของเขา ซึ่งริเริ่มจัดสร้างอุปสรรค์ใหม่ๆ มาให้ท้าประลองฝีมือ เทคนิค ท่าทางพิสดารก็ได้ถูกพัฒนาตามกันไป จากเดิม อุปสรรค์เกิดจากการเข้าไปขี่ตามพื้นที่ธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน ขอนไม้
เมื่อแพร่หลายมากขึ้น ด่าน อุปสรรค์ต่างๆได้ถูกดัดแปลงมาสู่เมือง การนำเอา รถยนต์เก่า ลังไม้พัสดุ ราวเหล็ก วัสดุต่างพื้นผิวย่อมส่งผลต่อการทรงตัว 




เมื่อออกสู่สายตาสาธารณะชน ผู้คนสนใจมากขึ้น เริ่มบรรจุในกีฬา European Sport
จัดทำตั้งกฎอย่างจริงจัง การกำหนดค่าคะแนนขึ้นอยู่กับความยากของการเลือกอุปสรรค์ หรือจะเป็น ลีลาท่าทาง
เทคนิคการ Tracking Stand คือการหยุดนิ่งบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง โดยห้ามมิให้เท้าสัมผัสพื้น
ผลที่ตามมาก็คือแบรนด์ต่างๆ เริ่มมีการผลิตรถจักรยาน Trial ออกมาสู่ท้องตลาดมากมาย
ส่วนประกอบสำคัญของจักรยานก็คือ เบรกที่หนึบที่สุด แต่ส่วนใหญ่นักแข่งจะเลือกใช้วีเบรกกัน เนื่องจากมีน้ำหนักเบา
และเบรกมีผลต่อการบังคับรถเป็นอย่างมากเพราะต้องใช้ในการหยุดความเร็วเพื่อให้หน้ายางสัมผัสกับพื้นผิวของอุปสรรค์ให้มากที่สุด และเพื่อการทรงตัวบนสิ่งกีดขวาง Handle Bar ที่กว้างเพื่อการควบคุมล้อหน้า และการดึงรถข้ามอุปสรรค์ เกียร์เป็นเกียร์ Single Speed เพื่อแรงกระชาก ถ้าใส่ตีนผีแรงกระชากจะถูกลดลงจาสปริง และแรงเหวี่ยงของเจ้าตีนผี เกียร์ที่เลือกใช้ส่วนใหญ่เป็นเกียร์ต่ำ Low Gearing แต่ก็ขึ้นอยู่กับความชอบ และรอบขา กำลังขาของแต่ล่ะบุคคล จักรยานประเภทนี้จะไม่มีเบาะเนื่องจากลดส่วนที่กีดขวางการทรงตัว เลยทำให้รูปทรงจักรยานดูเป็นเอกลักษณ์ และแปลกตา 

[3] กฎกติกาการแข่งขัน


     กฎกติกาการแข่งขัน มีอยู่สองลักษณะคือ
การแข่งขันในระบบสากล UCI ( Union Cycling International ) สหพันธ์กีฬาจักรยานนานาชาติ เป็นองกรที่จัดการแข่งขันจักรยานทั่วโลกทุกชนิด
มาตรฐานที่สองคือ BIU ( Bike Trial International Union ) เป็นสมาพันธ์จักการแข่งขันของจักรยานประเภท Trial โดยเฉพาะ แต่สองอย่างนี้มีข้อแตกต่างเรื่องการให้คะแนนและจุดประสงค์ของการจัดการแข่งขัน


     การแข่งขันของชาว Trial ให้นักกีฬาเลือก Section คือตำแหน่งหรืออุปสรรค์สิ่งกีดขวางได้ด้วยตนเอง
ให้ทำการแข่ง 2 รอบใน 10 Sections หรือ 3 รอบใน 7 Sections ผู้ที่ทำแต้มเสียน้อยที่สุด บวกกับลีลาท่าทาง
การเลือกอุปสรรคที่ยาก ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของการขี่ตลอดเส้นทาง ทำคะแนนสูงสุดและคะแนนต่ำสุดออก หาค่ากลาง แหม๋! คล้ายกับการให้คะแนนนักกีฬากระโดดน้ำเลยแฮะ ก็มันเป็นเกณฑ์การให้กีฬาทุกชนิดที่ออกท่าทางสวยงาม และท่วงท่าสมบูรณ์


     การ Dabs คือการวางเท้าในส่วนที่ให้พักแต่ก็มีเวลากำหนดถ้าพักเกินเวลาที่กำหนดจะถูกปรับคะแนน 5 แต้มตามกฎของ BIU  ส่วนกฎของ UCI พักเกิน15 วินาที จะโดนปรับ 5 – 10แต้ม เราจะสังเกตได้จากสัญญาณมือของกรรมการ โดยการชี้นิ้วหัวแม่มือขึ้น แต่ในส่วนนอกเหนือพื้นที่ที่ให้พักจะถูกปรับแต้มทันทีเมื่อเท้าสัมผัสพื้น


     อีกอย่างหนึ่งที่เป็นกฎของ UCI ห้ามส่วนใดของจักรยานเช่น บันได ขาจาน ตัวถัง ตะเกียบ สัมผัสกับสิ่งกีดขวาง เป็นกีฬาที่ต้องใช้ทั้งสมาธิ และพละกำลังเป็นอย่างมาก ส่วน BIU สามารถนำบางส่วนสัมผัสกับอุปสรรค์ได้ เนื่องจากการแข่งขันมีจุดประสงเพื่อพัฒนานักเรียน นักศึกษา เพื่อก้าวสู่ระบบ UCI

[4] ประเภทการแข่งขัน

การแบ่งคลาสการแข่งขัน ขึ้นอยู่กับขนาดของวงล้อ มี 3 คลาสด้วยกัน ล้อขนาด 20 นิ้ว 24 นิ้ว แล 26 นิ้ว ขนาดล้อที่เล็กที่สุดจะขับขี่ง่ายที่สุด แต่สำหรับท่านที่ขี่เสือภูเขาที่ปรับเปลี่ยนวิถีทางมาสนุกกับ Trial ก็คงต้องเป็นเจ้าล้อใหญ่จากความคุ้นเคย


แต่จักรยานประเภทนี้ยังไม่ค่อยมีการจัดการแข่งขันในประเทศไทยแต่มีชาว Trial มากมายในประเทศไทยที่หลงใหลในความท้าทายจาก กีฬาชนิดนี้อยู่
........สุดท้ายนี้ไม่ว่าจะเป็นชาวสองล้อประเภทใดก็ขอให้ท่านสนุกกับสิ่งที่เรากำลังควบมันอยู่ด้วยกำลังของเราเอง



[5] ปัจจัยสำคัญที่ต้องมี

สิ่งที่สำคัญของการเล่นจักรยานประเภทนี้ มีดังต่อไปนี้


1. แรงบันดาลใจ, ความมุ่งมั่น, ความพยายาม


ข้อนี้สำคัญที่สุดยิ่งกว่าอื่นใด ถ้าคุณไม่มี 3 ข้อข้างบนที่ว่ามา ผมไม่แนะนำให้ซื้อรถ เพราะคุณจะเสียทั้งเวลา และ เสียเงินโดยป่าวประโยชน์
เพราะว่ามันไม่ได้เล่นกันง่ายๆ ไม่ใช่วันสองวันจะเ็ป็น ต้องใช้ความพยายามอย่างมากจริงๆ


2. ต้องมีจักรยาน




แน่นอนที่สุดถ้าคุณคิดว่าคุณชอบและอยากจะเล่นแล้ว.... (จักรยานอะไรก็ฝึกได้หมดครับ) ถ้ามีใจรัก จะ BMX, MTB, Dirt , ฯลฯ
สามารถนำมาฝึกพื้นฐานได้หมด ไม่จำเป็นต้อง Trialbikes แท้ๆ ก็เล่นได้ครับ แต่ขอให้ระบบ Brake ดีๆหน่อย เล่นได้แน่

[6] Trialbikes ต่างจากจักรยานอื่น?

เฟรมของ Trialbikes ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ องศาของเฟรม, ความแข็งแรง, รูปร่าง, แต่...ทุกอย่างได้ดัดแปลงมาจาก BMX กับ MTB ทั้งสิ้น

Mountain Bike

Hybrid Bike

Street Bike

BMX Bike

Trial Bike





[7] ส่วนต่างๆของ Trial Bike

ก่อนซื้อ Trial Bike สักคัน คุณควรอ่าน spec ให้เป็น โดยทั่วไป spec จะออกมาหน้าตาแบบนี้





หัวข้อที่ highlight คือส่วนประกอบหรือชิ้นส่วนที่ประกอบกันเป็น Trial Bike ทั้งคัน ถ้าเราไม่รู้ว่ามันคืออะไร การดู spec ก็เหมือนกับการแกะ Davinci Code แน่...


ดังนั้น การรู้จักส่วนประกอบ หรือชิ้นอะหลั่ยต่างๆของ Trial Bike จะทำให้คุณสนุกกับการเลือก spec หรืออาจจะเลื่อนระดับจากมือใหม่สั่งซื้อ Complete Bike (สำเร็จรูปทั้งคัน) มาเป็นการเลือกสั่งซื้อชิ้นอะหลั่ยมาประกอบเองได้ดังใจปรารถนา...


ลองศึกษาจาก Diagram นี้ดู ผมเชื่อว่า 5 นาที 10 นาที คุณก็ดู spec เป็นแล้วในระดับหนึ่ง






เพื่อตอกย้ำสายตาให้ดูแล้วจำได้ทันที...ต่อไปนี้คือ Gallery หมวดหมู่ชิ้นอะหลั่ยต่างๆ จัดให้ชมกันจะจะแบบ Close-up (ไล่เรียงตามลำดับอักษร)


1. Bash Guard หรือ Bash Ring 





2. Bash Plate หรือ Ski Plate ติดอยู่ใต้ Frame บริเวณ BB [Bottom Bracket]







3. BB [Bottom Bracket]








4. Brake มีทั้ง V-brake, Disc-brake รวมทั้งผ้าเบรค






















4. Clamp ตัวยึดเพิ่มความแข็งแรงของเบรค ใส่ตรงน้อตยึดเบรค


5. Chain & Chain Derailleur หรือ Tensioner โซ่และตัวดึงโซ่ ( ตัวดึงโซ่ ไม่ค่อยมีใช้ใน Trial Bike)



 






6. Crank & Crankset



















 7. Fork หรือ ตะเกียบ





8. Frame ตัวเฟรมนี่แหละที่ขา Trial พิถีพิถันนักพิถีพิถันหนา

















































9. Freewheel











10. Grip

11.Handlebar




12. Headset






13. Hub












14. Pedal









15. Rim












16. Stem











17. Tyre